วันจันทร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2558


What ? Meaning? 


3D Printer หรือ Rapid Prototype (RP) หรือ ที่เรียกว่าเครื่องพิมพ์ 3มิติ เครื่องปรินท์ 3มิติ
การพิมพ์แบบสามมิติ คำว่า 3D printing อาจทำให้คิดว่าน่าจะเป็นการพิมพ์ภาพสามมิติทั่ว ๆไปแต่จริงแล้ว 3D printing นี้เป็นการสร้างโมเดลเสมือนจริง การขึ้นรูปชิ้นงานนั้นมีใช้กันมาเกือบ 30 ปีแต่ใช้กันในวงจำกัด ในบริษัทขนาดใหญ่ หรือ ใน Lab ใหญ่ๆเท่านั้น เพิ่งจะได้รับความนิยมในผู้ใช้จำนวนมาก 

 2D Printer VS 3D Printer

เครื่องพิมพ์แบบสามมิติไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะมีประวัติการพัฒนายาวนานกว่า 30 ปี แต่สิ่งที่ทำให้นวัตกรรมการพิมพ์ 3 มิติ กลับมาฮือฮาอีกครั้ง ก็เพราะมีความพยายามพัฒนาเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ให้เข้าสู่ผู้ใช้ในระดับครัวเรือนมากขึ้น นอกเหนือจากนั้นนักวิทยาศาสตร์จากหลายสาขายังพยายามประยุกต์ใช้หลักการของการพิมพ์แบบสามมิติไปสู่งานวิจัยในระดับที่เล็กลงแต่ซับซ้อนขึ้นเรื่อย ๆ จนวันหนึ่งข้างหน้า เราอาจเห็น “ชีวิตสังเคราะห์” จากเครื่องพิมพ์ 3 มิติถือกำเนิดได้จริงในห้องปฏิบัติการ
เครื่องพิมพ์แบบสามมิติถูกสร้างขึ้นตั้งแต่ในคริสตวรรษที่ 19  ช่วงปลาย (ประมาณปีค.ศ. 1984) โดย Charles W. (Chuck) Hull เป็นผู้ออกแบบเครื่องพิมพ์แบบสามมิติให้กับบริษัท 3D Systems Corporation  (Charles Hull  เป็นนักประดิษฐ์เครื่องพิมพ์ 3D ที่ทันสมัยและเป็นผู้ริเริ่มเทคโนโลยีมาตรฐาน de facto) โดยเครื่องพิมพ์สามมิตินี้ถูกตั้งชื่อว่า Stereolithographic 3-D printer

                            273404-the-first-3d-printer
หลังจากนั้นเทคโนโลยีการพิมพ์แบบสามมิติก็พัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ มีเทคนิควิธีการที่ซับซ้อนขึ้นพร้อมกับมีบทบาทมากขึ้นในหลาย ๆ สายงาน เช่น การออกแบบ วิศวกรรม การแพทย์ ไปจนถึงวิทยาการอวกาศและการบิน อีกทั้งยังมีเทคนิคและวิธีการพิมพ์แบบสามมิติเพิ่มมากขึ้นเพื่อให้เหมาะกับชิ้นงานและชนิดของวัสดุที่ต้องการขึ้นรูป 




For ( application) ?



3D Printer นั้นสามารถสร้างชิ้นงานที่เป็นวัตถุจับต้องได้(3มิติ) มีความกว้าง-ลึก-สูง ไม่เหมือนเครื่อง Printer แบบ 2D ที่เราใช้โดยทั่วไปที่พิมพ์หมึกสีลงบนกระดาษ เช่นหากเราพิมพ์ลูกบอลลงบนการกระดาษ(2D) เราจะได้กระดาษที่มีรูปลูกบอลอยู่ แต่หากเราพิมพ์จาก 3D Printer เราจะได้ลูกบอลทรงกลมมากลิ้งบนพื้นได้ และ ด้วยความหลากหลายของเทคนิคการพิมพ์แบบสามมิตินี้ทำให้เทคโนโลยีนี้สามารถสร้างรูปแบบของโมเดลได้หลากหลาย จึงถูกนำไปใช้ในหลาย ๆ ด้าน โดยการกำหนดที่ใช้นั้นจะขึ้นอยู่กับรูปแบบ ขนาด ความซับซ้อนและจำนวนที่ผลิต  ตัวอย่างโมเดลที่ถูกผลิตขึ้นเช่น เครื่องบินบังคับขนาดเล็กที่สร้างเสร็จภายใน 7 วัน, รถยนต์ ECO CAR ที่วิ่งได้จริงบนถนน, การหล่อชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ ,เครื่องประดับเงินและทองคำจากไฟล์ดิจิตอล, รองเท้า, เสื้อผ้า ไปจนถึงการพิมพ์อะไหล่ปืนที่สามารถนำมาประกอบเพื่อยิงกระสุนจริงได้ ซึ่งหมายความว่าในอนาคตเครื่องตรวจจับโลหะก็อาจจะไม่สามารถตรวจจับอาวุธที่หล่อขึ้นจากพรินเตอร์ 3 มิติได้อีกต่อไป หรือแม้กระทั่งของกินเทคโนโลยีนี้ก็ถูกนำไปใช้เช่นกัน
2D Print VS 3D Print1

เทคโนโลยีการพิมพ์แบบสามมิติก็พัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ มีเทคนิควิธีการที่ซับซ้อนขึ้นพร้อมกับมีบทบาทมากขึ้นในหลาย ๆ สายงาน เช่น การออกแบบ วิศวกรรม การแพทย์ ไปจนถึงวิทยาการอวกาศและการบิน อีกทั้งยังมีเทคนิคและวิธีการพิมพ์แบบสามมิติเพิ่มมากขึ้นเพื่อให้เหมาะกับชิ้นงานและชนิดของวัสดุที่ต้องการขึ้นรูป ตัวอย่างของเทคนิคที่ใช้ในการขึ้นรูปวัสดุเช่น  

                                  1

Stereolithography (SLA) ถือว่าเป็นเทคโนโลยี rapid prototype แรกที่คิดค้นขึ้นมา เป็นการขึ้นรูปชิ้นงานโดยการยิงแสงเลเซอร์ไปบนของเหลว เพื่อให้ของเหลวในแต่ละชั้นแข็งตัว โดยวัสดุของเหลวเป็นแบบ liquid photopolymer (resin) ชิ้นงานที่ได้จะมีความละเอียดและเที่ยงตรงสูง แต่ราคาเครื่องจักรและค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาก็สูงเช่นกัน
                             
                                      sla2
Fused Deposition Modeling (FDM) เป็นวิธีที่ใช้แพร่หลายที่สุด ใช้วัสดุหลักเป็นแท่งพลาสติกหรือโลหะที่พันเป็นม้วน ส่งผ่านไปยังหัวจ่ายซึ่งจะหลอมให้พลาสติกละลายก่อนนำมาพ่นลงบนแท่นวาง ซึ่งเมื่อพ่นออกมาแล้วจะแข็งตัวอย่างรวดเร็ว เครื่องจะพ่นทีละชั้นกระทั่งกลายเป็นโมเดล 3 มิติตามรูปทรงที่ต้องการ วัสดุที่ใช้ในการขึ้นรูปด้วยวิธีนี้ได้แก่ เทอร์โมพลาสติก เช่น ABS, โพลีคาร์บอเนต และโพลีฟีนิลซัลโฟนจำพวกอีลาสโตเมอร์

                                         400px-FFF

                                     filament-abs-multicolore-impression-3D

3D jet printer systems ใช้หลักการของ Ink Jet Printer แต่เป็นการ print ใน 3 มิติ โดยการพ่นวัสดุที่เป็นเทอร์โมพลาสติกเช่น โพลีเอสเทอร์ ผ่านหัวพ่นให้เป็นรูปแบบตามที่ต้องการ ใช้งานง่ายและสร้างแบบจำลองได้อย่างรวดเร็ว วิธีนี้มีจุดเด่นอยู่ที่สามารถเลือกสีต่างๆ ได้

                     injet

Selective Laser Sintering (SLS) คือ การเผาผนึกวัตถุดิบที่ใช้ด้วยแสงเลเซอร์ ใช้หลักการเดียวกันกับ SLA แต่ทำให้สามารถใช้วัสดุที่มีความแข็งแรงมากกว่า เช่น Thermoplastic,Nylon, Polyamide และ Polystyrene โดยวัตถุดิบที่ใช้จะอยู่ในรูปผง เช่น โลหะ พลาสติก เซรามิก และแก้ว เครื่องจะใช้เลเซอร์วาดรูปแบบขึ้นทีละชั้นและพ่นผงเหล่านี้ลงไปหลอมละลายกระทั่งกลายเป็นชิ้นงาน วิธีนี้ใช้ในอุตสาหกรรมเท่านั้น

                                   Selective_laser_melting_system_schematic


ในขณะที่หลักการการพิมพ์แบบสามมิตินั้นจะมีหลักการโดยทั่วไปคือ เครื่องจะอ่านการออกแบบจากไฟล์ STL แต่ละชั้นจะมีของเหลว แป้ง กระดาษหรือแผ่นวัสดุเพื่อสร้างแบบจำลองจากชุดข้อมูล การสร้างแต่ละชั้นจะสอดคล้องกับกลุ่มตัวอย่างเสมือนจริงจากรูปแบบที่ออกแบบไว้  ประโยชน์ของเทคนิคนี้คือความสามารถในการสร้างรูปแบบหรือคุณลักษณะทาง เรขาคณิต ความละเอียดของเครื่องพิมพ์อธิบายความหนาของแต่ละชั้นและความละเอียด x-y dpi (จุดต่อนิ้ว)หรือไมโครเมตร


                                 2


                   Case/Scenario/Role Play ?



สำหรับเทคนิคพื้นฐานในการสร้างชิ้นงานของเครื่องพิมพ์สามมิติ (3D printing) จะเริ่มจากการนำวัสดุมาขึ้นรูปทีละชั้นตามแบบที่กำหนดในไฟล์คอมพิวเตอร์ เพื่อให้ปรับเปลี่ยนรายละเอียดและสั่งพิมพ์ในปริมาณที่ต้องการได้ทันที ทำให้มีค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่าการสั่งผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมแบบเดิมซึ่งต้องสร้างเบ้าหล่อ (mold) ก่อนแล้วจึงฉีดวัสดุลงไป  นอกจากนี้ เทคนิคการสร้างชิ้นงานด้วยการเติมวัสดุ (additive manufacturing) ของเครื่องพิมพ์สามมิติยังทำให้สูญเสียวัตถุดิบน้อยกว่าการผลิตแบบทั่วไปซึ่งมักเริ่มด้วยวัสดุที่เป็นบล็อกใหญ่และตัดส่วนที่ไม่ต้องการออกอีกด้วย 

2 ขั้นตอนง่ายๆ ในการพิมพ์สามมิติ 

                                     3d printing1.jpeg

1. เตรียมไฟล์รูปจำลองสามมิติ (.stl) 
- สร้างแบบจำลองสามมิติด้วยโปรแกรมออกแบบสามมิติ* 
- ดาวน์โหลดไฟล์รูปจำลองสามมิติจากเว็บไซด์ที่ให้บริการ เช่น Thingiverse** 
- สแกนวัตถุต้นแบบเพื่อสร้างไฟล์รูปจำลองด้วยเครื่องสแกนสามมิติ 
*ซอฟต์แวร์สร้างแบบจำลองที่ได้รับความนิยมและเปิดให้ใช้งานฟรี เช่น Blender, SketchUp, 123D Design, 3D Canvas, Seamless3d ฯลฯ 

**Thingiverse คือเว็บไซด์ยอดนิยมที่เปิดให้สามารถอัพโหลด-ดาวน์โหลดไฟล์สามมิติ พร้อมฟังก์ชันแสดงผลไฟล์ในตัว โดยแบบจำลองสามมิติเหล่านี้บางแบบสามารถนำมาปรับแต่งได้ตามความต้องการ 

2. ตั้งค่าและสั่งพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ที่ใช้เทคนิคและวัสดุที่เหมาะสมกับชิ้นงาน

                                3d printing2.jpeg



การพิมพ์แบบหัวฉีด (FDM: Fused Deposition Modeling) 

เทคนิค: ทำงานด้วยกลไกหัวฉีด (nozzle) ซึ่งจะทำความร้อนเพื่อให้วัสดุที่มีลักษณะเป็นเส้น (filament) อ่อนตัวลง แล้วจึงสร้างชิ้นงานขึ้นทีละชั้นโดยเริ่มจากฐาน 
วัสดุ: พลาสติกชนิดต่างๆ โดยเฉพาะ PLA และ ABS ปัจจุบันเริ่มมีการนำเทคนิคมาต่อยอดเพื่อใช้กับวัสถุดิบอาหารอย่างช็อกโกแลต ไอซิ่ง ชีส ฯลฯ รวมถึงคอนกรีตสำหรับสร้างอาคาร 

เหมาะสำหรับสร้างตัวต้นแบบ (rapid prototype) ด้วยพลาสติก ชิ้นงานไม่ละเอียดเท่าการพิมพ์แบบอื่นๆ จึงมีพื้นผิวไม่เรียบและจำเป็นต้องมีการขัดเก็บงานก่อนในกรณีที่จะนำไปใช้งานจริง FDM เป็นเทคนิคการพิมพ์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เพราะดัดแปลงใช้ได้กับวัสดุหลากหลายประเภท และมีต้นทุนต่ำกว่าการพิมพ์แบบอื่นๆ ทั้งในแง่ของวัสดุและเครื่องพิมพ์ 

การพิมพ์ด้วยรังสีอัลตราไวโอเลต (SLA: Stereolithography) 
เทคนิค: สร้างชิ้นงานโดยยิงลำแสงอัลตราไวโอเล็ตให้ผิวน้ำเรซินแข็งตัวทีละชั้นและเชื่อมต่อกับชั้นก่อนหน้า 
วัสดุ: ใช้ได้กับเรซิ่นอย่างเดียวเท่านั้น 
เหมาะสำหรับการสร้างชิ้นส่วนกลไกต่างๆ เพื่อนำไปใช้ทดสอบการทำงานของเครื่องต้นแบบ และสามารถสร้างวัสถุเพื่อเป็นชิ้นส่วนจริงในเครื่องมือต่างๆ ได้  เพราะมีความละเอียดมากกว่าและผลิตชิ้นงานได้เร็วกว่าการพิมพ์แบบ FDM มาก งานจึงมีผิวเรียบแต่ก็มีต้นทุนสูงกว่าทั้งในแง่เครื่องพิมพ์และวัสดุ 

การพิมพ์ด้วยแสงเลเซอร์ (SLS: Selective Laser Sintering) 
- เทคนิค: เครื่องพิมพ์จะยิงแสงเลเซอร์ลงบนผงวัสดุให้เกิดการหลอมละลายเฉพาะจุดและเกิดการเกาะติดกันทีละชั้น   
- วัสดุ: ผงโลหะ แก้ว เซรามิก พลาสติก อีลาสโตเมอร์ (โพลิเมอร์ที่มีความยืดหยุ่นคล้ายยาง) 
- ชิ้นงานที่ได้มีความคงทนกว่าการพิมพ์แบบ SLA เหมาะสำหรับทำสร้างชิ้นงานเพื่อใช้จริง เช่น เครื่องประดับเงินและทองคำ ตุ๊กตาย่อส่วนคนจริงจากเซรามิก เครื่องดนตรีอย่างกีต้าร์ ไวโอลิน ฟลูต ฯลฯ 

การพิมพ์ด้วยการซ้อนแผ่นวัสดุ (LOM: Laminated Object Manufacturing) 
เทคนิค: ใช้เลเซอร์หรือมีดตัดวัสดุที่มีลักษณะเป็นแผ่นบางทีละชั้น และเชื่อมแต่ละชั้นด้วยกาว 
วัสดุ: แผ่นกระดาษ ไม้ โลหะ 
เหมาะสำหรับสร้างชิ้นงานเพื่อเป็นวัตถุต้นแบบ เพราะจุดเด่นของการพิมพ์แบบ LOM คือความเร็ว แต่ความละเอียดของงานยังต้องอาศัยการเก็บงานที่ดีด้วย ต้นทุนของวัสดุค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับการพิมพ์แบบอื่นๆ 

3D Printing ยังสามารถปริ้นคอนกรีต, หินสังเคราะห์, เซรามิก, เนื้อเยื่อ, แม้กระทั่งช็อคโกเลตและชีสก็ยังปริ้นได้ เครื่อง 3D Printer บางรุ่นยังสามารถปริ้นเหล็ก, อลูมิเนียม, ไทเทเนียม ก็ได้โดยใช้เลเซอร์ช่วยทำให้มันมาติดกัน ด้วยเทคโนโลยีหลายๆอย่างในปัจจุบันสร้างสรรค์ให้มันเกิดขึ้นได้ ตอนนี้จากงานวิจัยหลายๆที่ได้เริ่มใช้เทคโนโลยีนี้ในการปริ้นเนื้อเยื่อ อวัยวะ กระดูก เพื่อมาทดแทน หรือใช้ในทางการแพทย์ ล่าสุดเห็นมีการใช้เทคโนโลยี 3D Printing ในทำรองเท้าจากเนื้อเยื่อที่มันสามารถซ่อมแซมตัวเองได้ด้วย

                                   urbee car


                                 Urbee Car รถยนต์คันแรกที่สร้างจากเทคโนโลยีการพิมพ์แบบสามมิติ

                                            chocolate-rose-bailey-reed



                                      การทำช็อคโกแลตรูปดอกกุหลาบด้วยเทคโนโลยีการพิมพ์แบบสามมิติ

                                      shoes_on_feet_large_verge_medium_landscape

                                              รองเท้าที่ผลิตขึ้นโดยใช้เทคโนโลยีการพิมพ์แบบสามมิติ



การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการพิมพ์แบบสามมิติในการแพทย์และชีววิทยาก็น่าสนใจไม่แพ้กัน เพราะสามารถเชื่อมโยงเทคโนโลยีการพิมพ์แบบสามมิติกับการรักษาในหลายๆ ด้าน เช่น ช่วยสร้างโครงร่างเพื่อปลูกถ่ายอวัยวะของผู้ป่วย โครงร่างใบหูแทนกระดูกอ่อนเพื่อให้เซลล์ของผู้ป่วยสร้างขึ้นมาห่อหุ้มเป็นใบ หูใหม่ กระดูกนิ้ว ชิ้นส่วนกระโหลก ขาเทียม ไปจนถึงการสร้างไตเทียมและหลอดเลือดเทียมซึ่งมีระบบโครงสร้างที่ไม่ซับซ้อนเท่าอวัยวะอื่น

                                          ear

                                นักวิศกรรมชีวภาพจากมหาวิทยาลัย Cornell  ได้สร้างหูเพื่อช่วยเด็ก
                                 ที่เกิดมามีความผิดปกติที่เป็นโรคใบหูเล็กแต่กำเนิด (Microtia)

                                      kidney
                         
                      สถาบันการแพทย์ห่งมหาวิทยาลัยเวคฟอเรสพัฒนาสร้างไต โดยใช้เซลล์ของผู้ป่วยเอง

                                    blood vessel

                                 มหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนียและเอ็มไอทีได้พยายามสร้างหลอดเลือด

                                   PSC0813_GB_125

                                      มหาวิทยาลัยวอร์ชิงตันได้สร้างกระดูกโดยใช้ผงเซรามิก 
                               เพื่อทดแทนกระดูกที่แตกหักอย่างละเอียดในผู้ป่วยที่ประสบอุบัติเหตุ

แม้กระทั่งการสร้าง "เนื้อเยื่อสังเคราะห์" โดยใช้ระบบพิมพ์แบบสามมิติ นักชีววิทยาจากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดได้ทดลองสร้างเนื้อเยื่อสังเคราะห์ ซึ่งประกอบขึ้นด้วยสารเคมีชีวภาพที่พิมพ์ออกมาเป็นทรงกลมเล็กๆ ขนาด 500 ไมครอน เชื่อมต่อกันจนมีรูปร่างแบนคล้ายเนื้อเยื่อที่เพาะในจานอาหารสังเคราะห์ โดยภายในมีหยดทรงกลมกลุ่มหนึ่งทีทำหน้าที่เป็นระบบจำลองเส้นประสาทเทียม จากนั้นจึงกระตุ้นด้วยกระแสไฟฟ้าแทนกระแสประสาท และพบว่าเนื้อเยื่อสังเคราะห์นี้สามารถเคลื่อนไหวตอบแรงกระตุ้นได้

                                  jet printing



Impact?


 3D Printing ลดการสูญเสียในการ Production ได้
ในอดีตเวลาเราจะขึ้นรูปอะไรเราอาจจะเอาก้อนอะไรมาสักก้อนนึงแล้วเอามาตัด เอามาเหลา มาแกะ ลองยกตัวอย่างการแกะสลักน้ำแข็ง เราจะเอามาเป็นบล๊อก เป็นก้อนสี่เหลี่ยมแล้วมาแกะๆมันออกจนเป็นรูปทรง ซึ่งส่วนที่เสียไปก็จะเสียเปล่า น้อยมากที่จะนำมาทำให้เกิดคุณค่าต่อได้ ส่วนมากก็จะทิ้งไปโดยเปล่าประโยชน์ แต่สำหรับ 3D Printing จะเป็นแบบ “ใช้เท่าที่จำเป็นต้องใช้” ฉีดเส้นพลาสติกออกมาจากรูปร่างที่มันถูกกำหนดขึ้นมาเลย อาจจะมีซัพพอร์ตบ้าง สำหรับรูปร่างที่มันต้องมีฐาน ที่มีส่วนยื่น แต่ก็ถือว่าน้อยมาก หรือถ้าเครื่อง 3D Printer ของเราเป็นแบบที่ใช้แป้งด้วยแล้ว ยิ่งจะมี waste ที่น้อยลงไปอีก เพราะแป้งส่วนที่เหลือก็นำกลับไปใช้ใหม่ได้อีก เมื่อเทียบกับรูปแบบการสร้างวัตถุหรือสินค้ารูปทรงแบบอื่น ซึ่งนี่เป็นวิธีที่ประหยัดและคุ้มค่าต่อวัตถุดิบที่ใช้ในขั้นตอนการ production มาก

               ภาพตัวอย่างของการปริ้นกับเครื่องแบบที่ใช้ Thermoplastic จากภาพบนซ้ายจะเป็นภาพที่ไม่มีการสูญเสียของพลาสติกไปเลย ส่วนภาพล่างซ้ายจะเป็นวัตถุที่ต้องมี support ในการสร้างฐานรองให้กับเขากวาง ซึ่งก็เสียพลาสติกไปไม่มาก ซึ่งเราสามารถเลือกรูปแบบการปริ้นต่างๆได้จากซอร์ฟแวร์ที่จะบอกเราไว้เลยว่าการปริ้นจะเป็นแบบไหน จากภาพด้านขวา
ภาพตัวอย่างของการปริ้นกับเครื่องแบบที่ใช้ Thermoplastic จากภาพบนซ้ายจะเป็นภาพที่ไม่มีการสูญเสียของพลาสติกไปเลย ส่วนภาพล่างซ้ายจะเป็นวัตถุที่ต้องมี support ในการสร้างฐานรองให้กับเขากวาง ซึ่งก็เสียพลาสติกไปไม่มาก ซึ่งเราสามารถเลือกรูปแบบการปริ้นต่างๆได้จากซอร์ฟแวร์ที่จะบอกเราไว้เลยว่าการปริ้นจะเป็นแบบไหน จากภาพด้านขวา

ลดความเสี่ยงด้านอุตสาหกรรมด้วย 3D Printing
ในงานด้านอุตสาหกรรม ที่เป็นอยู่คือเมื่อเราต้องการจะสร้างสินค้าอะไรขึ้นมาสักอย่าง ที่ต้องมีการขึ้นหล่อรูปแล้ว เราต้องทำเบ้าหล่อ (mold) ขึ้นมาก่อนเมื่อใช้สำหรับเครื่องจักรแต่ละเครื่อง แต่สำหรับ 3D Printer เราไม่จำเป็นต้องทำแบบนั้นเลย เราสามารถสั่งให้คอมพิวเตอร์ขึ้นรูปได้เลย ซึ่งการทำแบบนี้เป็นการลงทุนที่ต่ำกว่า ไม่ต้องทำ mold เยอะแยะ ลดการที่ต้องติดตั้งต่างๆของภาคการผลิตไป ทำให้ดำเนินการต่างๆได้เร็วขึ้นและลดความเสี่ยงทางด้านการเงินลงไปได้ด้วย

3D Printing สามารถสร้างธุรกิจท้องถิ่นแข็งแกร่งขึ้นได้
ลองนึกภาพดูว่าหากเราสามารถออกแบบสิ่งของเองได้ สั่งทำมันขึ้นมาเองได้ง่ายๆที่บ้าน หรือผ่าน 3D Printing service ได้ง่ายๆในราคาที่คุ้มค่าที่จะจ่าย สภาพของธุรกิจจะเป็นอย่างไร?
เราจะสามารถโฟกัสกับของท้องถิ่นได้มากขึ้น ส่วนร่วมในการสร้างอุตสาหกรรมจะกลับมาในท้องถื่นมากขึ้น จะเกิดธุรกิจขนาดย่อมขึ้นมาอีกมากมายมาขับเคลื่อนธุรกิจ และ demand จะเปลี่ยนไป
มีคนกล่าวไว้ว่า “ถ้าในอีก 10 ปี เทคโนโลยี 3D Printing นี้ไม่หายไปไหนซะก่อน อุตสาหกรรมจะมาโฟกัสกันที่ localize มากขึ้น” ซึ่งมันก็น่าจะเป็นอย่างนั้นเพราะเราไม่ต้องลงทุนมากมายมหาศาลเพื่อที่จะสร้างโรงงานสำหรับการผลิตสินค้าแต่อย่างใด แต่หันมาโฟกัสกับสิ่งที่มันเป็น niche มากขึ้นแทน







ที่มา 
http://www.print3dd.com/what-is-3d-printer-how-many-type/#
http://www.vcharkarn.com/varticle/57825
http://hassadee.com/2013/12/13/3d-printing-brandspeak/
http://www.tcdc.or.th/creativethailand/article/Insight/20010